อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
เพิ่มคำอธิบายภาพ |
จังหวัดแพร่ เป็นจังหวัดหนึ่งในกลุ่มล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มีทิวทัศน์สวยงาม ก่อเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทั้งน้ำตก ถ้ำ น้ำพุร้อน แหล่งน้ำอุทยานแห่งชาติและวนอุทยานที่มีพืชพันธุ์ไม้ที่แปลกตา แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ นอกจากนี้แพร่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ศาสน สถาน กำแพงเมืองโบราณที่ยังคงมีความสมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งหนึ่งในภาคเหนือ และแหล่งท่องเที่ยวประเภท ประเพณี วัฒนธรรมรวมทั้งศิลปหัตถกรรมที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาสัมผัสได้อย่างประทับใจ
ในอดีตการเข้าออกนอกเมืองแพร่ต้องผ่านประตูเมืองซึ่งมีมาแต่เดิม 4 ประตู คือ ประตูชัยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมือง ประตูศรีชุม อยู่ตรงข้ามกับประตูชัย ติดวัดศรีชุมเป็นประตูสำหรับเดินทางเข้าเมืองของบรรดาเจ้าเมือง หรือการออกรบ ประตูยั้งม้า หรือประตูเลี้ยงม้าเป็นประตูเล็ก ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง เดิมเรียกว่าประตู (หัว)เวียง อาจจะเอาคำว่าหัวไปไว้กับหัวข่วงก็ได้ “ยั้ง” ภาษาเหนือ แปลว่า เลิก หรือหยุด เมื่อใครเดินทางเข้าเมืองต้องนำม้าไปผูกไว้รอบ ๆ บริเวณนี้ให้ม้ากินหญ้า จึงมีคอกม้าและเกือบม้าหลงเหลือให้เห็นกันรวมทั้งมีร้านรับทำเกือกม้าและซ่อม เกือก ม้า ด้วย ประตูมาร (แม่ มาน,หญิง มี ครรภ์,มาร,พญามาร,มัจจุราช)อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง เป็นประตูออกไปสุสาน ป่าช้า สมัยก่อนเป็นสานประหารนักโทษ พ.ศ. 2483 ถูกเปลี่ยนให้เป็นฌาปนสถาน ต่อมาเมืองแพร่เจริญขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียง เหนือใกล้กับประตูยั้งม้า โดยเรียกว่า ประตูใหม่ สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2482 เป็นเส้นทางเชื่อม ระหว่างตัวเมืองแพร่กับถนนยันตรกิจโกศล สำหรับกำแพงอิฐบริเวณประตูใหม่ที่เห็นปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2523 โดย เทศบาลเมืองแพร่กำแพงเมืองว่า “เมฆ” ซึ่งกำแพงเมืองโบราณของจังหวัดแพร่นับได้ว่ามีความสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองโบราณในภาคเหนือของประเทศไทยและคูเมืองด้านประตูใหม่ โดยจำลองแบบจากประตูเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นประตูเมืองแพร่เพียงด้านเดียวที่มีกำแพงอิฐอยู่สองข้างคู่ประตูเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น