เมือง....แพร่ แห่ระเบิด
วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561
วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561
แพะเมืองผี...ที่ไม่ได้มีทั้งผีและแพะ
วนอุทยานแพะเมืองผี
ภาพจาก : สำนักงานจังหวัดแพร่ |
แพะเมืองผี จังหวัดแพร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ แพะแปลว่า ป่าละเมาะ เมืองผีแปลว่า เงียบเหงา ได้มีการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2524 มีเนื้อที่ 167 ไร่ เป็นสถานที่มีความสวยงามด้าน ธรณีวิทยา หน้าผา เสาดิน และเส้นทางศึกษาธรรมชาติวนอุทยานแพะเมืองผี จัดทำเส้นทางศึกษา ธรรมชาติไว้บริการนักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยวทั่วไป ได้เข้ามาศึกษาสภาพป่า ลักษณะทางธรณีวิทยา เพื่อเป็นการส่งเสริม ให้เกิดความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพพื้นที่วนอุทยานมากยิ่งขึ้น
ภาพจาก : paiduaykan |
วนอุทยานแพะเมืองผี เมื่อครั้งในอดีตกาลนานมาแล้ว ชาวบ้านขนานนามว่า เป็น “แพะเมืองผี ” ไม่มีผู้ใดทราบ ประวัติเป็นที่ แน่นอน แต่ได้เล่าสืบทอดกันมาว่า แต่ก่อนบริเวณป่าแห่งนี้ เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธ์ไม้ใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่นและสัตว์ป่า น้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก ในสมัยนั้นมีครูบาปัญโญ ฯ เป็นเจ้าอาวาสวัดน้ำชำ ตำบลน้ำชำ ซึ่งชาวบ้านได้พร้อมใจกันนิมนต์มาเป็น เจ้า-อาวาสองค์แรก ของวัดน้ำชำและได้บอกเล่าประวัติแพะเมืองผีสืบทอดติดต่อกันมาว่า มีหญิงชราคนหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ ย่าสุ่ม ” เข้าไปหาผัก หน่อไม้ เป็นอาหาร แต่หลงป่าแล้วไปพบหลุมเงิน ทองคำ จึงได้นำเงิน และทองคำ ใส่ถุงแล้วเตรียมหาบ จะกลับบ้าน เสร็จแล้วเกิดหลงป่าอีก โดยไม่สามารถนำเอาหาบเงิน ทองคำ ออกมาได้ ย่าสุ่มจึงวางหาบจะกลับบ้านเสร็จแล้วเกิด หลงป่าอีก โดยไม่สามารถนำเอาหาบเงิน ทองคำออกมาได้ ย่าสุ่มจึงวางหาบแล้วหาไม้มาคาดเป็นราว (ราวไม้) ต่อมาออกจากป่าจน ถึงบ้านและ เดินกลับไปราวไม้ที่คาดไว้เป็นแนวทางไว้ ซึ่งปัจจุบันเป็นร่องทางน้ำพบเห็นได้ เป็นแนวออกไปทางบ้านน้ำชำ ทิศตะวัน ออกของ แพะเมืองผี ย่าสุ่ม จึงได้ชักชวนชาวบ้านให้เข้าไปด้วยปรากฏว่า ชาวบ้านก็ได้ติดตามย่าสุ่มเข้าไปถึงจุดที่ ย่าสุ่มวางหาบไว้แต่ ไม่พบเงินและทองคำ ในหาบแต่อย่าใด ไม่รู้ว่าหายไปได้อย่างไร ชาวบ้านจึงขนานนามสถานที่นั้นว่า “ แพะย่าสุ่มคาดราว ” และได้ช่วยกันค้นหา พบรอยเท้าคนเดินและชาวบ้านได้เดินตามรอยเท้าเหล่านั้นไปจนกระทั่งมาถึงพื้นที่ซึ่งชาวบ้าน ขนานนามว่า “ แพะเมืองผี ” ภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือคำว่า “แพะ ” ในที่นี้หมายถึงป่าแพะนั่นเอง ส่วนคำว่าเมืองผีก็เป็นชื่อ ที่ชาวบ้านเรียก กันสืบมาในสมัยดึกดำบรรพ์ โดยอาจจะเห็นว่าป่าแพะตรงนี้มีลักษณะพิศดาลของภูมิประเทศ และเพราะความเร้นลับตามเรื่องราว ที่เชื่อถือเล่าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็อาจเป็นได้
เปิดบริการทุกวัน ติดต่อสอบถาม โทร. 0-5462-6770
ประวัติความเป็นมา
อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
เพิ่มคำอธิบายภาพ |
จังหวัดแพร่ เป็นจังหวัดหนึ่งในกลุ่มล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มีทิวทัศน์สวยงาม ก่อเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทั้งน้ำตก ถ้ำ น้ำพุร้อน แหล่งน้ำอุทยานแห่งชาติและวนอุทยานที่มีพืชพันธุ์ไม้ที่แปลกตา แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ นอกจากนี้แพร่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ศาสน สถาน กำแพงเมืองโบราณที่ยังคงมีความสมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งหนึ่งในภาคเหนือ และแหล่งท่องเที่ยวประเภท ประเพณี วัฒนธรรมรวมทั้งศิลปหัตถกรรมที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาสัมผัสได้อย่างประทับใจ
ในอดีตการเข้าออกนอกเมืองแพร่ต้องผ่านประตูเมืองซึ่งมีมาแต่เดิม 4 ประตู คือ ประตูชัยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมือง ประตูศรีชุม อยู่ตรงข้ามกับประตูชัย ติดวัดศรีชุมเป็นประตูสำหรับเดินทางเข้าเมืองของบรรดาเจ้าเมือง หรือการออกรบ ประตูยั้งม้า หรือประตูเลี้ยงม้าเป็นประตูเล็ก ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง เดิมเรียกว่าประตู (หัว)เวียง อาจจะเอาคำว่าหัวไปไว้กับหัวข่วงก็ได้ “ยั้ง” ภาษาเหนือ แปลว่า เลิก หรือหยุด เมื่อใครเดินทางเข้าเมืองต้องนำม้าไปผูกไว้รอบ ๆ บริเวณนี้ให้ม้ากินหญ้า จึงมีคอกม้าและเกือบม้าหลงเหลือให้เห็นกันรวมทั้งมีร้านรับทำเกือกม้าและซ่อม เกือก ม้า ด้วย ประตูมาร (แม่ มาน,หญิง มี ครรภ์,มาร,พญามาร,มัจจุราช)อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง เป็นประตูออกไปสุสาน ป่าช้า สมัยก่อนเป็นสานประหารนักโทษ พ.ศ. 2483 ถูกเปลี่ยนให้เป็นฌาปนสถาน ต่อมาเมืองแพร่เจริญขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียง เหนือใกล้กับประตูยั้งม้า โดยเรียกว่า ประตูใหม่ สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2482 เป็นเส้นทางเชื่อม ระหว่างตัวเมืองแพร่กับถนนยันตรกิจโกศล สำหรับกำแพงอิฐบริเวณประตูใหม่ที่เห็นปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2523 โดย เทศบาลเมืองแพร่กำแพงเมืองว่า “เมฆ” ซึ่งกำแพงเมืองโบราณของจังหวัดแพร่นับได้ว่ามีความสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองโบราณในภาคเหนือของประเทศไทยและคูเมืองด้านประตูใหม่ โดยจำลองแบบจากประตูเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นประตูเมืองแพร่เพียงด้านเดียวที่มีกำแพงอิฐอยู่สองข้างคู่ประตูเมือง
บ้านวงศ์บุรี...สีชมพูดูสดใส
บ้านวงศ์บุรี
ภาพจาก : phraeobserver |
ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนคำลือ (ถนนหลังจวนผู้ว่าฯสี่แยกพระนอนเหนือ) ใกล้วัดพงศ์สุนันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2450 โดยเจ้าพรหม (หลวงพงษ์พิบูลย์) และเจ้าสุนันตาวงศ์บุรี ธิดาเจ้าบุรี (พระยาบุรีรัตน์) ช่างที่สร้างบ้านหลังนี้มาจากเมืองกวางตุ้ง ประเทศจีน และใช้ช่างไม้พื้นถิ่นเป็นบ้านไม้สักสองชั้นแบบยุโรปประยุกต์ ฐานเป็นอิฐและซีเมนต์สูงจากพื้น 1 เมตร หลังคาสองชั้น มีช่องระบายลมระหว่างชั้นที่สองเพื่อเพิ่มการไหลเวียนขิงอากาศ เนื่องจากบ้านหันหน้าเข้าทางทิศตะวนตกเฉียงใต้จึงมีลมพัดเย็นในฤดูร้อน บ้านทรงปั้นหยา 2 ชั้น เพดานสูงหลังคาสูง จุดเด่นของอาคารคือ ลวดลายไม้แกะสลักที่หน้าจั่ว ชายคา ระเบียงช่องลม ชายน้ำหน้าต่าง และประตูที่ประตูด้านหน้าเป็นปูนปั้นรูปแพะ ซึ่งเป็นตัวแทนของหลวงพงษ์พิบูลย์และแม่เจ้าสุนันทา ซึ่งเกิดในปีแพะ ต่อมาได้มีการซ่อมแซมแต่ลวดลายแกะสลักยังคงเป็นของเดิมภายในบ้านตกแต่งด้วยสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่ของตระกูลที่ถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุได้แก่ เครื่องเรือน เครื่องเงิน เครื่องปั้นดินเผา เอกสารที่สำคัญ เช่น เอกสารการซื้อขายทาส เอกสารการซื้อขายเพชร
ภาพจาก : phraeobserver |
บ้านวงศ์บุรีได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ปี 2536 ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์บ้านวงศ์บุรีเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่องและตีพิมพ์ในหนังสือต่าง ๆ
เปิดให้ชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น.
อัตราค่าเข้าชมชาวไทยและชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท
นอกจากนี้บ้านวงศ์บุรีได้จัดกิจกรรมเสริมคือ การจัดขันโตก สำหรับชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่มาเป็นคณะ โดยติดต่อล่วงหน้าได้ที่บ้านวงศ์บุรี โทร.0 5462 0153
วัดพระธาตุช่อแฮ...แลดูงามตา
วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง
ภาพจาก : เที่ยวผ่านเลนส์ |
วัดพระธาตุช่อแฮ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้าน คู่เมืองจังหวัดแพร่และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล บุคคลใดที่มา เที่ยวจังหวัดแพร่แล้วจะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ เพื่อเป็นศิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่า ถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มา นมัสการพระธาตุช่อแฮเหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ 28 เมตร องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ ศิลปะเชียงแสน แบบแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบหรือทองจังโก องค์พระธาตุสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร ลักษณะองค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม3 ชั้นรองรับ ถัดไปเป็น ฐานบัวคว่ำ และชุดท้องไม้แปดเหลี่ยมซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง 1 ชั้น และหน้ากระดานหนึ่งชั้นจนถึงองค์ระฆัง แปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉน ส่วนยอดฉัตรประดับตกแต่งด้วยเครื่องบนแบบล้านนามี รั้วเหล็ก รอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูได้สร้างซุ้มแบบปราสาทล้านนาไว้อย่างสวยงาม
ภาพจาก : วัดพระธาตุช่อแฮ |
ทุกปีจะมีประเพณีการไหว้พระธาตุช่อแฮเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เดิมจะจัด 5 วัน 5 คืน ได้เปลี่ยนแปลงเป็น 7 วัน 7 คืน วันแรกของงาน จะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 6เหนือ เดือน 4 ไต้ของทุกปีซึ่งถือว่าการจัดงานไหว้พระธาตุช่อแฮ ยึดถือตามจันทรคติ เป็นหลัก ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง ในการจัดงานมีขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ประกอบ ไปด้วยริ้วขบวนของ ทุกอำเภอ การฟ้อนรำ ขบวนช้างเจ้าหลวง และเครื่องบรรณาการ ขบวนแห่กังสดาลขบวนแห่หมากเป็ง ขบวนต้นผึ้ง ขบวนแห่ผ้าห่ม องค์พระธาตุ 12 ราศี ซึ่งประกอบด้วยขบวนตุง 12 ราศรี ขบวนข้าวตอกดอกไม้ ต้นหมาก ต้นผึ้ง ต้นดอก ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศรี ขบวนกังสดาล ขบวนตุงขบวนฟ้อนรำมีการเทศน์และมีการเทศน์และฟังเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก ทั้งกลางวันและ กลางคืน สำหรับกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดงาน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.0-5459-9209
วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561
คุ้มเจ้าหลวง...ควงกันมาถ่ายรูปได้น้า~
คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)